[x] ปิดหน้าต่างนี้
 




อัตลักษณ์ผู้เรียน "
สุขภาพดี   มีงานทำ   อยู่อย่างพอเพียง"   เอกลักษณ์สภานศึกษา "สถานศึกษาพอเพียง"


 

  

บทความสุขภาพ
จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม

จันทร์ ที่ 23 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554

คะแนน vote : 150  

     เคยมีคนบอกพี่เหมี่ยวว่าโทรศัพท์มือถือถึงแม้ว่าจะให้ความสะดวกสบายเป็นเหมือนสมองคอยจดจำอะไรต่างๆ ให้กับเรา แต่บางครั้งก็ทำให้เราหลงลืมอะไรต่างๆ ไปได้ง่ายๆ เหมือนกัน อย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ หรือที่ทำงานของเพื่อนๆ ของเรา ซึ่งจริงๆ แล้วในชีวิตเรา เราต้องจดจำข้อมูลรายละเอียดต่างๆ มากมาย บางครั้งเราจำได้ไม่หมดเราจึงต้องใช้ตัวช่วย แต่กลับกลายเป็นว่านั่นยิ่งทำให้เราเคยตัวกับการที่เราไม่จดจำอะไรเลยแม้กระทั่งเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนสนิทของเราเอง!!!!

เด็กดีดอทคอม :: จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม 

 

     พี่เหมี่ยวว่าจริงๆ แล้วปัญหาของการที่เราหลงๆ ลืมๆ นั้นน่าจะมาที่เราไม่สามารถจัดการข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในสมองของเราให้เป็นระเบียบได้ได้ จึงทำให้เราต้องหันไปถึงเทคโนโลยีในการช่วยจดจำสิ่งต่างๆ ... มีผลการทดลองจากมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดียรายงานว่า การที่เรามีข้อมูลในสมองที่มากและไม่เป็นระเบียบนั้นส่งผลต่อการจดจำของคนเรา โดยความสามารถในการจดจำที่ลดลงนั้นมีความสอดคล้องกับอายุของคน แต่ไม่ใช่เพราะพื้นที่หน่วยความจำลดลง แต่เป็นเพราะสมองชะลอการทำงานลงต่างหาก

     การทดลองนี้เริ่มศึกษาในขั้นแรกจากการเปรียบเทียบการทำงานระหว่างความจำของวัยุรุ่นหนุ่มสาวและคุณตาคุณยายผู้สูงอายุ เนื่องจากการทำงานของความจำนั้นมีความเกี่ยวพันธ์ข้อมูลที่อยู่ในจิตใจ การศึกษากลุ่มตัวอย่างทำโดยการทดลองให้ประโยคข้อความหนึ่งและถามความรู้สึกที่มีต่อประโยคนั้น ต่อจากนั้นก็ให้กลุ่มตัวอย่างจดจำคำสุดท้ายของประโยคนั้นๆ ไว้ ... 

     ... ผลที่ได้จากการทดลองปรากฏว่ากลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวในช่วงอายุ 23 ปี จะจดจำคำสุดท้ายของประโยคที่พูดได้ดีที่สุด นอกจากนี้นักวิจัยชาวแคนนาดายังได้ทดสอบเป็นครั้งที่สองเพื่อชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุนั้นมีอุปสรรคในการจดจำ โดยทดลองโดยการให้กลุ่มคุณตาคุณยายอายุประมาณ 67 ปี ดูภาพ 8 ภาพ ต่อจากนั้นก็ให้กลุ่มผู้ถูกทดลองดูภาพ 12 ภาพในคอมพิวเตอร์และให้คลิกเม้าส์เมื่อเห็นภาพแรกใน 8 ภาพที่ให้จำก่อนหน้านี้ และทำอย่างนี้จนครบจำนวน 8 ภาพ พบว่าการทดลองนี้เป็นสิ่งที่ยากสำหรับเหล่าคุณตาคุณยายทั้งหลาย

เด็กดีดอทคอม :: จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม

     สำหรับผลที่ได้จากการทดลองนั้น มาวิน แบลร์ จากมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดีย กล่าวว่า คณะผู้ทดลองพบว่าผู้มีอายุมากจะมีความยากลำบากในการขจัดข้อมูลที่ได้รับมาก่อนหน้านี้ การมีข้อมูลในสมองมากเกินไปทำให้ทำเกิดปัญหาในการทำงานของความจำ เนื่องจากสมองขอผู้สูงอายุมีปัญหากับการขจัดข้อมูลที่ไม่สัมพันธ์กันออกไป ทำให้ยากที่จะเพ่งความสนใจในสิ่งที่ทำขณะนั้นได้ ไม่เพียงแค่นั้นยังมีผลการวิจัยก่อนหน้าที่จะทำการทดลองชิ้นนี้ได้ระบุไว้ชัดเจนเลยว่า นอกจากอาการหลงลืมต่างๆ จะเกิดขึ้นในวัยชราแล้ว ส่วนของสมองที่ทำให้เกิดความรู้สึกละอายจะเสื่อมลงตามอายุอีกด้วย และนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้คนเราสูญเสียความยั้บยั้งชั่งใจ

     คิดๆ ไปแล้วก็น่าสงสารคุณตาคุณยายเหมือนกันนะคะ คงสับสนน่าดูกว่าจะเรียงลำดับความทรงจำต่างๆ ในสมองได้ ... อ๊ะ อ๊ะ น้องๆ Dek-D อย่าเพิ่งชะล่าใจไปนะคะว่าเรายังเป็นวัยรุ่นอยู่ คงจะยังไม่ลืมอะไรง่ายๆ ขอบอกเลยนะคะว่า วัยรุ่นอย่างเราก็อาจจะเกิดอาการหลงๆ ลืมๆ ได้เหมือนกัน!

เด็กดีดอทคอม :: จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม

     แบลร์กล่าวเพิ่มเติมถึงการแก้ปัญหาอาการหลงๆ ลืมๆ ในวัยรุ่นว่า สำหรับหนุ่มสาวเองก็อาจมีปัญหากับความจำได้เกิดจากการขัดขว้างของข้อมูลภายนอก การนอนไม่หลับทำให้ยากสำหรับการทำงานที่เหมาะสมของสมอง ... ถ้าน้องๆ Dek-D ไม่อยากหลงลืมอะไรง่ายๆ ล่ะก็ พี่เหมี่ยวมีวิธีบริหารสมองและความจำดีๆ มาฝากค่ะ

 

เริ่มต้นจาก ...

     1.เข้านอนแต่หัวค่ำ

     2.นั่งสมาธิหรือเล่นโยคะเพื่อให้จิตใจสงบ

     3.เรียนภาษาหรือดนตรีเพื่อรักษาจิตใจให้เยาว์วัย

     4.เล่นครอสเวิร์ดหรือปริศนาอักษรไขว้เพื่อกระตุ้นสมอง

     5.ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกายและใจที่ดี

     6.การเข้าสังคมจะช่วยลับสมองให้เฉียบคม

     ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ดูนะคะ รับรองค่ะว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน สมองและความทรงจำของน้องๆ จะยังคงเฉียบคมอยู่เหมือนเดิมแน่นอนค่ะ

 

เด็กดีดอทคอม :: จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม

 

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิงและภาพประกอบ : http://psychcentral.com/

 

อ่านต่อ :
http://www.dek-d.com/content/lifestyle/24841/จัดระเบียบสมองใหม่จะได้ไม่ขี้ลืม.php#ixzz1N9DDmC7D


เข้าชม : 1440


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      วัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน 25 / ม.ค. / 2558
      การประเมินค่าดัชนีมวลกาย 20 / ม.ค. / 2555
      น้ำมันมะกอก แก้นอนกรน 15 / พ.ย. / 2554
      อาการของมะเร็งชนิดต่าง ๆ > อาการของ การเกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย 22 / ส.ค. / 2554
      ประโยชน์ของใบเตยที่คุณอาจไม่รู้ 22 / มิ.ย. / 2554