นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ปีงบปรมาณ ๒๕๕๗
คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ การมีอาชีพและการมีความสามารถเชิงการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
๑.จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษาสมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
๒.ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกำลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร
๓.พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๔.ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวติ ของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน และการส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
๕.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑. คนไทยได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
๒.ประชากรวัยแรงงานมีระดับการศึกษาและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น และมีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวอย่างยั่งยืน บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๓. ชุมชนมีฐานอาชีพที่กว้างและหลากหลาย สามารถพัฒนาไปสู่ระดับวิสาหกิจชมุ ชนที่มี
ความสามารถเชิงการแข่งขัน มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และความเข้มแข็งของชุมชน
๔. ประชาชนมีเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างสร้างสรรค์
๕. ประชาชนมีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษากลุ่มประเทศอาเซียน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน
๖. องค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
๗.หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึง
๘.หน่วยงานและสถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมี
ประสิทธิผล
๙.ชุมชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ มีกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมี กศน.ตำบลและศูนย์การเรียนชุมชนต่างๆ เป็นกลไกส่งเสริมการเรียนรู้
๑๐. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
๑. ร้อยละของคนไทยกลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่างๆ (เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ กลุ่มคนไทยทั่วไป เป็นต้น) ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
๒. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) ที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้อ่านออกเขียนได้
๓. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) กลุ่มเป้าหมายที่เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบ
๔. จำนวนประชากรวัยแรงงาน (อายุ ๑๕ – ๕๙ ปี) กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
๕. ร้อยละของชุมชน (ตำบล/หมู่บ้าน) เป้าหมายที่ประชาชนในพื้นที่ได้รับการอบรมหลักสูตร การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำแล้ว สามารถจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดับตำบล/หมู่บ้านได้
๖. จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการเรียนรู้/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
๗. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการการเรียนรู้/ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแล้ว มีการพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และมองเห็นแนวทางการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได
๘. จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการศึกษาอบรมในหลักสูตรภาษาอังกฤษภาษาจีน ภาษากลุ่มประเทศอาเซียน และความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิภาคและความเป็นประชาคมอาเซียน
๙. จำนวนองค์กรภาคส่วนต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกับประเทศไทย
๑๐. ร้อยละของหน่วยงานและสถานศึกษา กศน. ที่มีการพัฒนา/วิจัยและพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรยี น/ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑๑. ร้อยละของผู้เรียน/ผู้เข้ารับบริการการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ที่มีความพึงพอใจในคุณภาพและปริมาณ/ความหลากหลายของสื่อการเรียนรู้ที่หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. จัดบริการ
๑๒. ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่มีการบริหารจัดการ และพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยขององค์กร
๑๓. ร้อยละของ กศน. ตำบล และศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช.) ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน โดยใช้ปัญหาของชุมชนเป็นศูนย์กลาง
๑๔.ร้อยละของหน่วยงาน และสถานศึกษา กศน. ที่สามารถดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามบทบาทภารกิจที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด/ตามแผนที่กำหนดไว้
นโยบายเร่งด่วน
๑. ส่งเสริมการอ่านและเพิ่มอัตราการรู้หนังสือของคนไทยให้สามารถอ่านออกเขียนได
๑.๑ เร่งพัฒนาเครื่องมือสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือไทยและดำเนินการสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือของประชากรวัยแรงงานผู้ไม่รู้หนังสือในทุกพื้นที่ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายอายุ ๑๕-๕๙ ปี เพื่อนำมาจัดทำฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง และเป็นระบบเดียวกัน พร้อมทั้งให้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาประชากรให้รู้หนังสือไทยเป็นรายไตรมาส
๑.๒ เร่งจัดการศึกษาให้ผู้ไม่รู้หนังสือตามผลการสำรวจและประเมินระดับการรู้หนังสือไทย ให้สามารถอ่านออกเขียนได้ โดยใช้หลักสูตรการรู้หนังสือไทยของสำนักงาน กศน.และสื่อที่เหมาะสมกับสภาพ และพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย
๑.๓ เร่งพัฒนาสมรรถนะของครูกศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือโดยให้มีความรู้และความเข้าใจวิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือตามหลักสูตรการรู้หนังสือไทยของสำนักงาน กศน. และมีทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๔ มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือการพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของประชาชน
๒. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทุก กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีคุณภาพ
๒.๑ พัฒนาระบบการบริหารจัดการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๑) สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เหมาะสมสำหรับสถานศึกษา และ กศน.ตำบล เพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมและการให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และทันเวลา
๒) พัฒนาระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems: LMS) บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ประโยชน์สำหรับการรับสมัคร การขึ้นทะเบียนนักศึกษาการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน
๓) พัฒนาและเผยแพร่สื่อการศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาตลอดชีวิตของประชาชน
๔) พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems: LMS) ให้สามารถใช้ระบบเพื่อจัดการเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.๒ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
๑) พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สามารถใช้ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems: LMS) เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ การให้บริการทางการศึกษา ที่เป็นประโยชน์กับการยกระดับและการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบ และเพิ่มโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชน
๒) จัดตั้งศูนย์สื่อ กศน. (ONIE Media Centre) ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ที่เป็นศูนย์ผลิตและเผยแพร่สื่อ กศน.ที่มีคุณภาพ เพื่อให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง
๓)จัดตั้งห้องปฏิบัติการทางภาษาในสถานศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการอื่น
๒.๓ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
๑) พัฒนารูปแบบการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบด้วยการใช้ระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-exam)
๒) พัฒนาระบบการให้บริการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ให้เชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems: LMS)
๓) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล ให้มีความทันสมัย มีหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสถานศึกษา กศน.สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
๔) พัฒนาระบบช่องทางแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (Portal Web) ที่มีเนื้อหาสาระที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน
๕) พัฒนาบ้านหนังสืออัจฉริยะให้เป็นแหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
๓. ยกระดับคุณภาพงานการศึกษานอกระบบแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
๓.๑ เร่งพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอน ให้มีการเรียนและการทำกิจกรรมวิชาการเพื่อเสริมและเติมเต็มความรู้อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง
๓.๒ เร่งพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะของครู กศน. และพัฒนาครู กศน.ให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้กระบวนการฝึกอบรมตามหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ รวมทั้งจัดให้มีการประเมินสมรรถนะบุคคลดังกล่าวก่อนเข้าทำงาน กศน. และให้มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของครู กศน.เพื่อให้ครู กศน.ทุกคนได้นำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๓ พัฒนาครูกศน. ให้เป็นทั้งผู้สอนและผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ กศน.ที่สามารถเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและบูรณาการวิธีการเรียนรู้อย่างหลากหลายโดยเน้นการเรียนรู้ผ่านโครงงาน(Project - based learning)และกระบวนการเรียนที่เน้นการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา โดยผู้เรียนสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
๓.๔ เร่งจัดหารวบรวมและพัฒนาสื่อเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งสื่อเอกสารและสื่อเทคโนโลยีพร้อมทั้งจัดทำสรุปสาระสำคัญของแต่ละรายวิชา เพื่อความสะดวกในการเผยแพร่จัดทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้ที่สามารถเพิ่มความหลากหลายของสื่อการเรียนและพัฒนาศูนย์สื่อกศน.(ONIE Media Centre) ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา
๓.๕ พัฒนาและบริหารจัดการระบบTV กศน. /โทรทัศน์ช่องติวเตอร์ กศน.วิทยุและอินเทอร์เน็ตให้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และสะดวกต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๓.๖ พัฒนาระบบสะสมผลการเรียนและระบบการสอบอิเล็กทรอนิกส์(e-Exam)ให้มีมาตรฐานเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.๗ เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมมือกันในการจัดการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
๔. ยกระดับการฝึกอบรมอาชีพและ“ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน”เพื่อผลิตกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขันรองรับการเข้าสู่ระบบการค้าเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
๔.๑ พัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนไปสู่ระดับวิสาหกิจชุมชน
๑) พัฒนาบุคลากร กศน. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจ และสามารถจัดและส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการมีอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้และการฝึกอบรม ที่เน้นการปฏิบัติการศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้โลกอาชีพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์ในอาชีพโดยตรง การฝึกประสบการณ์อาชีพจากการปฏิบัติจริงทั้งจากสถานที่ และกิจกรรมต่างๆ อาทิสถานศึกษา สถานประกอบการ กิจกรรมจิตอาสา มหกรรมงานอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีทักษะและเจตคติที่ดีในการประกอบอาชีพ สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง และมีศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ระบบการค้าสากลและการค้าเสรี ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
๓) พัฒนาศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนให้เป็นศูนย์ฝึกอบรม สาธิต แสดง จำหน่ายและกระจายสินค้าและบริการของชุมชน รวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญา และศูนย์บริการข่าวสารข้อมูล สำหรับชุมชนที่ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
๔) ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและแหล่งเรียนรู้ ของหน่วยงานและสถานศึกษาอื่น ตลอดจนภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายอื่นในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนในจังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างจังหวัด
๕) เร่งรัดพัฒนาระบบแนะแนว ส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนต่างๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่อง
๖) กำกับ ติดตาม ประเมินผล วิจัย และพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างเป็นระบบ และนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ของตลาดและทิศทางการพัฒนาประเทศ
๔.๒ พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสายอาชีพเพื่อการเข้าสู่การอาชีวศึกษา
๑) พัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่เป็นมาตรฐานและผู้เรียนสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้จากการประกอบอาชีพได้จริง
๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการนำความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้อาชีพไปเทียบระดับการศึกษา และเทียบโอนความรู้สู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเข้าสู่การศึกษาสายอาชีวศึกษา
๓) ประสานความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา และสถานประกอบการในลักษณะไตรภาคีเพื่อการส่งต่อผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของ กศน.เข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษาได้อย่างต่อเนื่องเป็นระบบ
๔) พัฒนาระบบแนะแนวการศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน/นักศึกษาที่ออกกลางคันและนักเรียน/นักศึกษาที่ไม่ประสงค์จะศึกษาต่อ และประชาชนทั่วไป เห็นช่องทางและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพ และการศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา
๕) กำกับ ติดตาม ประเมินผลวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาสายอาชีพของ กศน. และนำผลมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
๕. จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา กศน.อำเภอ/เขต
๕.๑ เร่งสำรวจความต้องการด้านการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีนภาษาอังกฤษ และภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อนำมากำหนดหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านอาเซียนสำหรับกลุ่มเป้าหมายตามบริบท
และความต้องการของแต่ละพื้นที่
๕.๒ เร่งพัฒนาและจัดทำหลักสูตร สื่อ แบบเรียนการศึกษาต่อเนื่องด้านภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายสตรีในทุกกลุ่มอาชีพ ให้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย ๑ ภาษาตามบริบทและความต้องการของแต่ละพื้นที่และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน
๕.๓ จัดให้มีศูนย์อาเซียนศึกษา อำเภอ/เขต ละ ๑ แห่งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียน)และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนโดยจัดเป็นห้องเรียน แหล่งการเรียนรู้ศูนย์บริการหลักสูตร สื่อ แบบเรียน ที่มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๕.๔ ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมดำเนินการยกระดับความสามารถด้านภาษาต่างประเทศและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายสตรีเพื่อให้สามารถใช้ทักษะด้านภาษาและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอาชีพและชุมชนให้มีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๕ จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านภาษาต่างประเทศและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและบริบทของพื้นที่
นโยบายต่อเนื่อง
๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
๑.๑ จัดและสนับสนุนการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑)พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคง
๒)ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่างทั่วถึงและเพียงพอเพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
๓)จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มีระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำราเรียนอย่างเท่าเทียมกัน
๔)ขยายการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ด้วยวิธีเรียนที่หลากหลาย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๕)ส่งเสริม สนับสนุน และเร่งรัดให้ กศน.อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน สอดคล้องกับหลักสูตรเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง
๖)พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.ให้มีความครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
๗)จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ทหี่ ลากหลาย เน้นการฝึกปฏิบัติจริงโดยกำหนดให้ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า๒๐๐ ชั่วโมง (เฉลี่ยภาคเรียนละ ไม่น้อยกว่า ๕๐ ชั่วโมง) และให้ผู้เรียนมีเวลาเรียนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง โดยให้เรียนกับครูหรือวิทยากรสอนเสริมอย่างน้อย ๖ ชั่วโมง และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามที่ครูมอบหมาย ๓ ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ
๘)พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรมตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๙)ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เช่น กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และ ยวุกาชาดกิจกรรมจิตอาสา การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การแสดงความสามารถพิเศษ “สุดยอด กศน.” การร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น
๑.๒ ยกระดับการศึกษาประชาชนให้จบการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ
๑) ให้สำนักงาน กศน.อำเภอ/เขต ดำเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน
๒) ให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงาน กศน.อำเภอ/เขต ดำเนินการจัดบริการประเมินเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชนในอำเภอ/เขต ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) ประชาสัมพันธ์ให้องค์กรหลัก หน่วยงานทางการศึกษา ภาคสังคม และประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการเทียบระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะที่เป็นกลไกในการประเมินและให้การยอมรับคุณค่าของมวลความรู้และ
ประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้สั่งสมมา เพื่อส่งเสริมให้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาต่อในระดับที่
สูงขึ้นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
๑.๓ เปิดโลก กศน. สู่ กศน.อินเตอร์ เพื่อประชาคมอาเซียน
๑)จัดให้มีห้องเรียนที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ ห้องเรียน
๒)จัดหาครูและผู้เกี่ยวข้อง และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรดังกล่าวให้สามารถจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓)ส่งเสริม และสนับสนุนให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาและจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ภาคภาษาอังกฤษ
๔)พัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และการวัดและประเมินผลการศึกษา เพื่อการพัฒนาการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ภาคภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้เรียน
๑.๔ การศึกษาต่อเนื่อง
๑)มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและศักยภาพของแต่ละพื้นที่รวมทั้งส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ได้จริง และการพัฒนาสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ต่อไป
๒)มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดกิจกรรมการศึกษาในรูปแบบต่างๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การส่งเสริมด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี ศิลปะการแสดง และความสามารถพิเศษต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณธรรมจริยธรรม รวมทั้งสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน
๓)มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การเรียนทางไกล การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมจิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชนแต่ละพื้นที่ โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี การบำเพ็ญประโยชน์โดยใช้กระบวนการลูกเสือ เนตรนารีและ ยุวกาชาด การส่งเสริมบทบาทสตรี การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน การบริหารกองทุน การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการน้ำ และการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อการใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาต่อเนื่องของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๑.๕ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน
๑) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและมาตรฐานของหลักสูตร
๒)พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพโดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการสอนการจักระบวนการเรียนรู้การวัดและประเมินผล และการวิจัยเบื้องต้น
๓)ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการ บริบทของพื้นที่ และสภาพของกลุ่มเป้าหมายและท้องถิ่น
๔)ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรทางด้านภาษา และวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่การเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพ
๕)ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบหลักสูตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูผู้สอนโดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
๖)ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน
๗)มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ และมีผลสัมฤทธิ์ในสาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐
๘)พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตรโดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๖ การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑) ให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน เพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม โดยพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง
๒)ให้สำนักงานกศน.จังหวัด/กทม.ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดไม่น้อยกว่าร้อยละ๕๐ ของจำนวนสถานศึกษาในสังกัด
๓)ดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานคุณภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขอรับการประเมินอีกครั้งหนึ่งในรอบการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม โดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดและจัดให้มีระบบสถานศึกษาพี่เลี้ยงเข้าไปสนับสนุนอย่างใกล้ชิดสำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
๔)ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน สมศ.ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
๕)เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรให้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๑.๗ การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
๑)จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งอัตลักษณ์และความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่
๒)พัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง
๓)ส่งเสริมระบบการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษาด้านศาสนศึกษาเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔)ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากรและนักศึกษา กศน.ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง
๑.๘ การศึกษาทางไกล
๑) พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทางไกลให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
๒)พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดและให้บริการการศึกษาทางไกลเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสและบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
๓)ขยายกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายผู้ให้บริการ และผู้รับบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
๔)เผยแพร่สื่อ แบบทดสอบ รูปแบบ และวิธีการจัดการศึกษาทางไกลให้กับสถานศึกษา เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษารวมทั้งเพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
๕)ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนการบริหารงานและการจัดบริการการศึกษาทางไกลที่มีคุณภาพ
๖)ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยวิธีการเรียนทางไกลให้กับแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มประเทศอาเซียน
๒. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๑ การส่งเสริมการอ่าน
๑) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้ระดับอ่านคล่อง อ่านเข้าใจความ เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนการสอน และสื่อที่มีคุณภาพ
๒) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง รวมทั้งเสริมสร้างความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่านในส่วนภูมิภาค
๓) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล เพื่อร่วมเป็นกลไกในการพัฒนาคนไทยให้มีเจตคติที่ดีต่อการเสริมสร้างความรู้ด้วยการอ่าน เห็นประโยชน์และความสำคัญของการอ่าน มีนิสัยรักการอ่านและพัฒนาตนเองให้เป็นนักอ่านที่มีคุณภาพต่อไป
๔) พัฒนา“บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นกลไกในการส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
๒.๒ ห้องสมุดประชาชน
๑)จัดตั้งห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ให้ครบ ๑๐๐ แห่ง ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
๒)มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
๓)จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน
๔)จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเอง การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ของประชาชน เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติจริง
๕) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน
๖)พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้มีความรู้ ความสามารถและมีความเป็นมืออาชีพในการจัดบริการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของประชาชน
๗)แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมจัดและสนับสนุนการดำเนินงานของห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน
๒.๓ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
๑) พัฒนาและจัดทำนิทรรศการ มหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร และจัดกิจกรรมที่เน้นการเสริมสร้างทักษะ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร ์ และสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนนำความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และสามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนโดยเน้นวิทยาศาสตร์ชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต การพัฒนาอาชีพ การรักษาสิ่งแวดล้อม และการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติในพื้นที่
๓) ส่งเสริม และสนับสนุน ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
๔) ส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้มีรูปแบบและเนื้อหา ที่หลากหลาย สามารถปลูกฝังให้ผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
๕) ส่งเสริม และสนับสนุนการผลิตและพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เชิงบูรณาการ เพื่อเป็นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ บนพื้นฐานการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๖) พัฒนาการบริหารจัดการและการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
๗)จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เชิงวิชาการแหล่งจุดประกายการพัฒนาอาชีพและแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น
๓. นโยบายด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
๓.๑ การพัฒนา กศน.ตำบล/แขวง ให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน
๑) จัดหาครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมกับกศน.ตำบล/แขวงให้ครบทุกแห่งเพื่อสนับสนุนการบริหาร การจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและทันเวลา
๒) จัดหาหนังสือและสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและสาระที่หลากหลาย ทันสมัย เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มพูนสมรรถนะของตนเองและเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของชุมชน
๓)จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเชิงรุกที่หลากหลาย ทันสมัยสร้างสรรค์ ต่อเนื่อง และตอบสนองความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน การฝึกอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การป้องกันภัยพิบัติการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างกระบวนการประชาธิปไตย การป้องกันภัยจากยาเสพติด การเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และการจัดการศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ตามความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละชุมชน
๔)จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และส่งเสริมให้มีกลุ่มส่งเสริมการอ่านใน กศน.ตำบล/แขวง เพื่อพัฒนาเป็นชุมชนรักการอ่าน โดยใช้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบต่างๆ ในชุมชน โดยดำเนินงานเป็นทีมร่วมกับครู กศน.ตำบล/แขวง
๕)พัฒนาระบบฐานข้อมูลสภาพการรู้หนังสือและความต้องการทางการศึกษาและการเรียนรู้ของประชากรวัยแรงงาน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้ทันความต้องการเพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
๖)ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล/แขวงทั้งในและต่างประเทศเพื่อการประสานเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้การส่งต่อผู้เรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการให้บริการทางการศึกษาที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
๗)พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานกศน.ตำบล/แขวงและจัดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อสาธารณะรวมทั้งให้นำผลการติดตามประเมินผลมาใช้ในการพัฒนาการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวง อย่างต่อเนื่อง
๘)กำกับและติดตามให้ กศน.ตำบล/แขวง ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินงาน กศน.ตำบล/แขวงอย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๒ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
๑)จัดให้มี ๑ จังหวัด ๑ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดแสดงจำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชนอย่างเป็นระบบครบวงจร
๒)จัดให้มี ๑ อำเภอ๑ สุดยอดหลักสูตรอาชีพ กศน. เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้อาชีพเพื่อการมีทำ ที่เป็นการจัดการศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลักที่มั่นคงให้กับผู้เรียน โดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและหลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาชีพ เพื่อพัฒนาให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน
๓.๓ เสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชน
๑)ให้กศน.ตำบล/แขวงดำเนินการจัดหาหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจัดให้บริการกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ที่บ้านหนังสืออัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
๒)ให้กศน.ตำบล/แขวงดำเนินการจัดกิจกรรมและประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย โดยการส่งเสริมการอ่านให้เข้าถึงทุกครอบครัวในพื้นที่รับผิดชอบ รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ใช้บริการเกี่ยวกับ
ระเบียบวินัยและข้อพึงปฏิบัติในการใช้บ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนการเคารพสิทธิผู้อื่น ตลอดจนการช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาบ้าหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชนให้เป็นบ้านหนังสือเสริมสร้างอัจฉริยภาพของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างยั่งยืน
๓)ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการเสริมสร้างอัจฉริยภาพส่วนบุคคลและความเข้มแข็งของชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมบ้านหนังสืออัจฉริยะหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
๓.๔ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกระดับ
๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคีเครือข่ายทุกระดับ โดยจำแนกตามระดับความพร้อมในการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์ในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่าย
๒) พัฒนาบุคลากรภาคีเครือข่ายให้มีศักยภาพในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ
๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษา ประสานการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ และภารกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในการเป็นกลไกสำคัญเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓.๕ อาสาสมัคร กศน.
๑) ส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้าราชการบำนาญเข้ามาเป็นอาสาสมัคร กศน. โดยเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แกประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยทำงานเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัดสำนักงาน กศน.
๒) ส่งเสริมให้อาสาสมัคร กศน. ได้รับการพัฒนาสมรรถนะให้เป็นผู้จัด และผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ
๓) เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในรูปแบบต่างๆ แก่อาสาสมัคร กศน. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
๓.๖ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
๑) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนโดยใช้ กศน.ตำบล/แขวง ที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรชุมชนอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
๒) ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนโดยการจัดทำแผนชุมชน จัดเวทีชาวบ้าน การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม เพื่อนำความรู้ไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน
๓) ส่งเสริมให้มีการบูรณาการความรู้ในชุมชนให้เชื่อมโยงกับหลักสูตรต่างๆ ของ กศน. โดยคำนึงถึงการประกอบอาชีพ และการมีงานทำของผู้เรียนที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ในการมีงานทำและการเทียบโอนความรู้และประสบการณ
๔) ส่งเสริมให้มีการขยายและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการสืบสานและการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยให้มีการจัดทำและเผยแพร่สื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในชุมชน
๕) พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญองค์ความรู้ด้านต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ และนักจัดการความรู้ที่สำคัญของชุมชน
๔. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
๔.๑ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๑)ส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชวงศ์ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเกิดผลโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งระดับบุคคลและชุมชน
๒)จัดทำฐานข้อมูลโครงการและกิจกรรมของ กศน.ที่สนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผน การติดตามประเมินผลและการพัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓)ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔)พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๒ โครงการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงชายแดนของ ศฝช.
๑)พัฒนาศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน ให้เป็นศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนต้นแบบด้านเกษตรกรรม
๒) มุ่งจัดและพัฒนาการศึกษาอาชีพ โดยใช้วิธีการหลากหลาย ใช้รูปแบบเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอาทิ การจัดมหกรรมอาชีพ การประสานความร่วมมือกับเครือข่าย การจัดอบรมแกนนำด้านอาชีพ ที่เน้นเรื่องเกษตรธรรมชาติที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชายแดนให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน
๓)จัดและพัฒนาศฝช.ให้เป็นศูนย์สาธิตการประกอบอาชีพ ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับประชาชนตามแนวชายแดนด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
๔)ให้ ศฝช.ทุกแห่ง เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากร และการเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรธรรมชาติ โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงาน กศน.กับ มูลนิธิ MOA ไทย และ MOAInternational
๕) จัดระบบเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้อาชีพ ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยเชื่อมโยงกับ กศน.ตำบล/แขวง ในพื้นที่
๔.๓ การส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
๑)จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การรู้หนังสือภาษาและวัฒนธรรมไทย และยกระดับการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ โดยเฉพาะ ผู้พิการผู้ด้อยโอกาส เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน คุณแม่วัยใส คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์หรือไม่มีสัญชาติไทย (คนต่างด้าวและผู้ไร้สัญชาติ) ผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่าในพื้นที่พักพิงชั่วคราว คนไทยในต่างประเทศ
๒)ศึกษา วิจัย พัฒนาและเผยแพร่รูปแบบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เพื่อให้มีการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทอย่างต่อเนื่อง
๓)พัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบการจัดกิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายพิเศษแต่ละกลุ่ม
๕. นโยบายด้านสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
๕.๑ พัฒนาสถานีวิทยุศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยขยายเครือข่ายการรับฟังให้สามารถรับฟังได้ทุกที่ ทุกเวลา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
๕.๒ พัฒนาสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการออกอากาศให้กลุ่มเป้าหมายสามารถใช้เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเพิ่มช่องทางให้สามารถรับชม ได้ทั้งระบบ Ku - Band และ C - Band และทางอินเทอร์เน็ต พร้อมที่จะรองรับการพัฒนาเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสาธารณะ (Free
ETV)
๕.๓ พัฒนารายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้เชื่อมโยงและตอบสนองต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนและกระจายโอกาสทางการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆทั่วประเทศ
๕.๔ เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร โดยจัดให้มีการผลิตรายการพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำรายการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน รายการติวเข้มเติมเต็มความรู้ ฯลฯ เผยแพร่ทางสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) และสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ และทางอินเทอร์เน็ต
๕.๕ ผลิตและเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายเพื่อคนพิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลและการศึกษาตลอดชีวิต
๕.๖ พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายให้สามารถผลิต เผยแพร่ร่วมพัฒนา และใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๗ พัฒนาระบบการให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้ได้หลายช่องทางทั้งทางอินเทอร์เน็ต และรูปแบบอื่น ๆ เช่น Application บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ Tablet, DVD,CD, VCD และ MP3 เป็นต้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเลือกใช้บริการเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ได้ตามความต้องการ
๕.๘ สำรวจ วิจัย และติดตามประเมินผลด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาใช้ในการพัฒนางานให้มีความถูกต้อง ทันสมัยและสามารถส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนได้อย่างแท้จริง
๖. นโยบายด้านการบริหารจัดการ
๖.๑ การพัฒนาบุคลากร
๑) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ เพื่อพัฒนาบุคลากรของสำนักงาน กศน. ทุกระดับ ทุกประเภทให้มีความเป็นมืออาชีพในการดำเนินงานตอบสนองความต้องการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของประชาชน
๒) พัฒนาบุคลากรทุกระดับทุกประเภทให้มีสมรรถนะสูงขนึ้ อย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่างการดำรงตำแหน่งเพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานและบริหารจัดการการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) พัฒนาหัวหน้า กศน.ตำบล/แขวงให้มีสมรรถนะสูงขึ้นในการบริหารจัดการ กศน.ตำบล/แขวง และการปฏิบัติงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการเป็นนักจัดการความรู้และผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
๔) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กศน.ตำบล/แขวง เพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารการดำเนินงานตามบทบาทภารกิจของ กศน.ตำบล/แขวง อย่างมีประสิทธิภาพ
๕) พัฒนาอาสาสมัคร กศน. ให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๖) เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากร รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในทุกระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร และภาคีเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง เช่น มหกรรมกีฬา กศน. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน และการสร้างความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
๗) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
๘) ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองเพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะโดยเน้นการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์
๙) ให้มีการจัดทำโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (DPIS) ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรในสังกัด
๑๐) จัดทำแนวทางการขับเคลื่อน กศน. สู่การเป็น “องค์กรแห่งศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม” ส่งเสริมการจัดกิจกรรม การจัดทำนวัตกรรมเกี่ยวกับองค์ความรู้ดานคุณธรรมจริยธรรมการป้องกันการทุจริต และราชการใสสะอาด ของหน่วยงานและสถานศึกษา เพื่อให้ กศน.เป็นองค์กรแห่งศักดิ์ศรีและสุจริตธรรมที่ประชาชนมีความเชื่อมั่น ศรัทธาและมีความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน
๖.๒ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอัตรากำลัง
๑) เร่งผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการศึกษาตลอดชีวิต
๒) จัดทำแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและดำเนินการปรับปรุงสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ ให้มีความพร้อมในการจัดการศึกษา
๓) ระดมทรัพยากรจากชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมสำหรับดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
๔) แสวงหาภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเพื่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๕) บริหารอัตรากำลังที่มีอยู่ทั้งในส่วนที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการและลูกจ้าง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงาน
๖.๓ การพัฒนาองค์ความรู้และฐานข้อมูล
๑) วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการใช้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒) ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ในหน่วยงานและสถานศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของหน่วยงานและสถานศึกษาทั้งในระดับอาเซียนและระดับสากล
๓) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร และจัดบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
๔) สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ “กศน.ยุคใหม่ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่สากล” และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของ กศน. ในการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อสร้างกระแสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคมเห็นความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของ กศน. ทั้งในฐานะผู้รับบริการ ผู้จัด ผู้ส่งเสริมและผู้สนับสนุนการดำเนินงานของ กศน.
๖.๔ การกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผล
๑) สร้างกลไกการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้เชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถานศึกษา และภาคีเครือข่ายทั้งระบบ
๒) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ พัฒนาระบบกลไกการกำกับ ติดตามและรายงานผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายในแต่ละเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสื่ออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อการกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ
๔) พัฒนากลไกการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน สถานศึกษา เพื่อการรายงานผลตามตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี ของสำนักงาน กศน.ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่ ก.พ.ร.กำหนด
๕) ให้มีการเชื่อมโยงระบบการนิเทศในทุกระดับ ทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ส่วนกลาง ภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัด อำเภอ/เขต และตำบล/แขวง เพื่อความเป็นเอกภาพในการใช้ข้อมูล และการพัฒนางานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เข้าชม : 1348
|