[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

 

  


สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

พฤหัสบดี ที่ 28 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2554


สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

   

ความเป็นมา

tree1

ในปี พ.ศ. 2526 บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ในปัจจุบัน เป็นป่าสงวนแห่งชาติทุ่งค่าย ได้มีการพัฒนาโดย นายยอด  คีรีรัตน์ ป่าไม้จังหวัดในสมัยนั้น โดยได้รับการสนับสนุนจากนายชวน  หลีกภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  ให้เป็นสวนรุกขชาติทุ่งค่าย

       ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536  ได้พัฒนายกฐานะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ตามดำริของ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เนื่องจากมีการจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ขึ้น แต่มีสวนพฤกษศาสตร์ที่มาตรฐานในภาคเหนือ คือสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ จึงได้ดำริให้กรมป่าไม้จัดหาพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มี มาตรฐานสากลในท้องที่ภาคใต้ จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นโดยมี ศ.ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ เป็นประธานโดยมีข้อสรุปเลือกพื้นที่สวนรุกขชาติทุ่งค่าย ในท้องที่อำเภอย่านตาขาวจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชุมชน มีศักยภาพที่เหมาะสม ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ จึงเสนอให้กรมป่าไม้ จัดตั้งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ขึ้นเพื่อดำเนินงานตามมาตรฐานสากล อยู่ในกำกับดูแลของส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
      ต่อมาปี พ.ศ. 2546 มีการปรับปรุงระบบราชการ  สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จ.ตรัง  มาสังกัดสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่20   กรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  กระทรงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จ.ตรัง สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถาน ที่ตั้ง :  สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จังหวัดตรัง ม.2 ถ.ตรัง-ปะเหลียน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง 92140


ลักษณะทางกายภาพ

       เป็นที่ราบมีเนินเขาเตี้ยๆ ซึ่งเป็นต้นน้ำของลำห้วยสายเล็กๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 15 - 40 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่คือควนช่างหมาด มีระดับความสูง 40 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

ลักษณะภูมิอากาศ

       จากข้อมูล เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตรัง พอสรุปลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดตรังได้โดยย่อดังนี้
เนื่องจากที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดตรังตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกค่อนไปทางใต้ ของภาคใต้ เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมร้อนชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดผ่าน จึงได้รับอิทธิพลจากลมนี้อย่างเต็มที่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฉะนั้นในช่วงเวลาข้างต้นจังหวัดตรังจึงมีฝนตกชุกมาก และเมื่อลมมรสุมนี้อ่อนกำลังลงก็จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือจากประเทศจีน พัดเข้ามาแทนที่ เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ทางด้านปลายลมจึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมนี้ไม่มาก นัก แต่อย่างไรก็ตามตอนต้นของฤดูมรสุมนี้ คือในเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายนก็ยังคงมีฝนตกชุกอยู่ หลังจากเดือนพฤศจิกายนไปแล้วฝนก็เริ่มน้อยลงตามลำดับ และฤดูกาลของจังหวัดตรัง  แบ่งตามลักษณะอากาศของประเทศไทย  ได้เป็น 3 ฤดูกาล คือ
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของมรสุม หลังจากสิ้นสุดฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวแล้วอากาศจะเริ่มร้อน และจะร้อนจัดที่เดือนมีนาคมและเมษายนแต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล ไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายความร้อนลงมาก
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีฝนทั่วไปและในช่วงฤดูฝนยังมีร่องความกดอากาศต่ำ ปกคลุมภาคใต้เป็นระยะๆ อีกด้วย ทำให้มีฝนตกมาก ฝนตกสูงสุดของจังหวัดนี้อยู่ในเดือนกันยายน
3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้เป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้ อุณหภูมิจึงลดลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว อากาศจึงไม่สู้จะหนาวเย็นมากนัก และตามชายฝั่งจะมีฝนตกทั่วไป


tree2

พืชพรรณและ สัตว์ป่า

ลักษณะพืช พรรณตามธรรมชาติในบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) แบ่งออกเป็น 2 ชนิดป่า ดังนี้

1. ป่าดงดิบชื้น (Moist evergreen forest) ปกคลุมบริเวณตอนกลางของพื้นที่ มีพื้นที่ปกคลุมร้อยละ 61.5 ของพื้นที่ทั้งหมด ลักษณะโครงสร้างตามแนวดิ่งของป่าแบ่งได้เป็น 3 ชั้นเรือนยอด ไม้ชั้นบนที่เป็นชั้นเรือนยอดเด่นมีความสูง 21 - 30 เมตร เช่น เคี่ยม กระบาก ยางมันหมู ยางยูง กะออก เป็นต้น ไม้ชั้นกลางมีความสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ชนิดที่สำคัญ เช่น เฉียงพร้านางแอ หว้า สะท้อนรอก ส้าน มะตาด แซะ ก่อตลับตับปูน ตีนเป็ด ส่วนไม้ชั้นล่างมีความสูงประมาณ 7 - 14 เมตร ชนิดที่สำคัญ เช่น พลับพลา ขันทองพยาบาท กันเกรา มะไฟ และไม้พื้นล่างประกอบด้วยพืชจำพวก ข่า หวาย ระกำ และเฟินอีกหลายชนิด

tree3

าพแสดง ลักษณะป่าดิบชื้นบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้(ทุ่งค่าย)

2. ป่าพรุ (Peat swamp forest) พบบริเวณรอบนอกของพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณทางทิศใต้ของพื้นที่ มีพื้นที่ปกคลุมร้อยละ 7.6 ของพื้นที่ทั้งหมด สภาพทั่วไปมีน้ำจืดท่วมขัง ลักษณะโครงสร้างแบ่งออกได้เป็น 3 ชั้นเรือนยอด ชั้นบนสุดเป็นไม้ขนาดใหญ่ เช่น ชุมแสง กะออก ขี้หนอนพรุ ตังหน หว้าพรุ เป็นต้น  ชั้นรองลงมาเป็นพรรณไม้ขนาดกลาง เช่น ตะเคียนราก ละไมพรุ และยาร่วงพรุ ชั้นต่ำลงมาเป็นไม้ขนาดเล็ก เช่น เสม็ด สังเครียด ส้านน้ำ ไม้พื้นล่างประกอบด้วยจำพวกคลุ้ม ลิ้นทิง หม้อข้าวหม้อแกงลิง หวายลิง กะพ้อ และหลุมพี

tree4

ภาพแสดง สะพานเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณป่าพรุสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย)

นอกจากป่าสอง ชนิดดังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีพื้นที่ที่เป็นป่าทดแทน ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ถูกบุกรุกแผ้วถาง และมีไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น เสม็ด ขึ้นอยู่กระจายห่างๆ บางบริเวณมีพืชกินแมลงขึ้นอยู่ด้วย

tree5tree6

ภาพแสดงพืชกินแมลง ที่พบบริเวณสวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จังหวัดตรัง


ที่ตั้งและอาณาเขต

       สวนพฤกษศาสตร์ภาคใต้(ทุ่งค่าย)ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งค่ายท้องที่ตำบลทุ่งค่ายอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ 2,600 ไร่ หรือ 4.16 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองตรังไปทางทิศตะวันตกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 404 (สายตรัง - ปะเหลียน) ประมาณ 11 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้


ทิศเหนือ>>>

จดพื้นที่เกษตรกรรม

ทิศใต้   >>>

จดวัดทุ่งค่าย (ชุมชนทุ่งค่าย)

ทิศตะวันออก>

จดพื้นที่สาธารณะประโยชน์

ทิศตะวันตก>>

จดที่ดินกรรมสิทธ์และทางหลวงหมายเลข 404


แผนที่แสดงที่ตั้งและอาณาเขตสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) อำเภอย่านตาขาวจ.ตรัง



map8



tree9

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

สวนพฤกศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) มีเส้นทางธรรมชาติหลายเส้นทางที่เหมาะสม กับการศึกษาหาความรู้ในเชิงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีระยะทาง 3 กิโลเมตร เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีความเหมาะสม เป็นตัวแทนที่บอกถึงสถานภาพป่าของสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) ได้เป็นอย่างดี ผ่านป่าดิบชื้น สะพานศึกษาเรือนยอดไม้ ป่าพรุ  ป่ารุ่นสองซึ่งเป็นที่อยู่ของพืชกินแมลง และสวนรวมพรรณไม้วงศ์ปาล์ม ฯลฯ




map10
1.แนะนำความเป็นมาของสวนฯ

2.รู้จักป้ายชื่อต้นไม้

3.ดินในป่าดิบชื้น

4.สมุนไพร คุณค่าในพงไพร

5.หน้าตาของป่าดิบชื้น

6.พืชอิงอาศัย

7.กะออก กาวธรรมชาติ

8.เดินเทียมยอดไม้

9.รู้จักป่าพรุ

10.หลุมพีเพื่อนระกำ

11.ดินและน้ำในป่าพรุ

12.พืชนักกิน

13.การอนุรักษ์พืชนอกถิ่น

14.นักอนุรักษ์ที่ดี




47_84459_6bfbbc353d143f047_84459_430de0f407a67e147_84459_a287225ee9f279047_84459_430de0f407a67e147_84459_6bfbbc353d143f047_84459_a287225ee9f279047_84459_430de0f407a67e147_84459_a287225ee9f279047_84459_6bfbbc353d143f0
Dividers_ (13)


เข้าชม : 35

 
 

ทดสอบหมวดหมู่ 5 อันดับล่าสุด

      ศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติบ้านทุ่งตะเซะ 9 / พ.ค. / 2554
      แหล่งเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) 2 / พ.ค. / 2554



เข้าชม : 4852


5 อันดับล่าสุด

     ไม่มีรายการในประกาศหมวดหมู่นี้


 
กศน.อำเภอย่านตาขาว  ถนนตรัง-ปะเหลียน  ตำบลย่านตาขาว  อำเภอย่านตาขาว  จังหวัดตรัง  โทรศัพท์  075-281769
yanna1410@hotmail.com

 
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05